หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์

Doctor of Philosophy Program in Electrical and Computer Engineering


ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ภาษาไทย : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์)
ภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy (Electrical and Computer Engineering)

แผนการศึกษาและจำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร

แผน 1 การวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์โดยไม่ต้องศึกษารายวิชา ผู้เข้าศึกษาที่จบการศึกษาขั้นปริญญาโท ที่มีการทำวิทยานิพนธ์และมีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการที่ มทส. ให้การรับรอง (60 หน่วยกิต)
แผน 2.1 การศึกษารายวิชาและการวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์ ผู้เข้าศึกษาที่จบการศึกษาขั้นปริญญาโท (60 หน่วยกิต)
แผน 2.2 การศึกษารายวิชาและการวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์ ผู้เข้าศึกษาที่จบการศึกษาขั้นปริญญาตรี(เกียรตินิยม) (90 หน่วยกิต)

อาชีพที่สามารถประกอบอาชีพได้หลังสำเร็จการศึกษา

วิศวกรด้านการวิเคราะห์ ประยุกต์ และออกแบบ ด้านวิศวกรรมไฟฟ้า ด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ด้านระบบควบคุมและอัตโนมัติ
วิศวกรด้านการวิเคราะห์ประยุกต์ และออกแบบ ด้านโครงการก่อสร้างงานระบบไฟฟ้า ระบบสื่อสาร และระบบคอมพิวเตอร์
วิศวกรด้านการวิเคราะห์ ประยุกต์ และออกแบบ ระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม
วิศวกรไฟฟ้า และวิศวกรคอมพิวเตอร์ ภาคราชการ ภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจ
นักพัฒนาซอฟต์แวร์
ผู้ช่วยนักวิจัย หรือนักวิจัยด้านวิศวกรรมไฟฟ้า และวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
อาจารย์ และนักวิชาการ

ข้อมูลหลักสูตร

Course Information

เล่มหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ (มคอ.2)

367 Downloads

แผนการศึกษา

แผนการศึกษา สำหรับผู้เข้าศึกษาที่จบการศึกษาขั้นปริญญาโท
263 Downloads
แผนการศึกษา สำหรับผู้เข้าศึกษาที่จบการศึกษาขั้นปริญญาตรี (เกียรตินิยม)
114 Downloads

ปรัชญาของหลักสูตร

Curriculum Philosophy

พัฒนานักวิจัยที่มีองค์ความรู้ใหม่ทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ สามารถประยุกต์องค์ความรู้เพื่อนำไปสู่นวัตกรรม

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

Curriculum Objectives

เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ขั้นสูง และประสบการณ์ในการวิจัยในสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นบัณฑิตที่มีคุณธรรมและเป็นผู้นำของสังคมได้
เพื่อฝึกหัดบัณฑิตให้เป็นผู้ใฝ่รู้ สามารถค้นคว้าและต่อยอดองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง เพื่อให้มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต ฝึกทักษะการสื่อสารเพื่อเผยแพร่งานวิจัย
เพื่อเสริมสร้างบัณฑิตที่มีความรู้ทักษะและประสบการณ์ในการวิจัยประยุกต์ที่สามารถบูรณาการทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์เข้ากับศาสตร์ในสาขาอื่น เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาชุมชน และประเทศชาติได

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร

Program Learning Outcome

PLO1 : บัณฑิตสามารถอธิบายความสำคัญของศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์
PLO2 : บัณฑิตมีความสามารถในการใช้ทักษะที่จำเป็นในการวิเคราะห์และแก้ปัญหาทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์
PLO3 : บัณฑิตมีความสามารถในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมตลอดชีวิต การเพิ่มทักษะและการยกระดับ ขีดความสามารถทางวิชาการด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์
PLO4 : บัณฑิตมีความสามารถในการออกแบบและบูรณาการองค์ความรู้เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมได้
PLO5 : บัณฑิตมีความสามารถในการประพฤติตนให้มีความรับผิดชอบ และมีจรรยาบรรณต่อทางวิชาชีพ วิศวกรรมด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์
PLO6 : บัณฑิตมีความสามารถในการสื่อสารทางภาษา เพื่อแสดงถึงความรู้และแสดงถึงพฤติกรรมการเข้า สังคมได้อย่างมีคุณภาพ
PLO7 : บัณฑิตมีความสามารถในการใช้งานสารสนเทศ อินเทอร์เน็ต การจัดเตรียมข้อมูลและการนำเสนอ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
PLO8 : บัณฑิตมีความสามารถในการคำนวณและมีทักษะในด้านการโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์เพื่อวัตถุประสงค์ทั้งทางด้านวิชาการและวิชาชีพ